skip to main
|
skip to sidebar
Home
Home
About
Uncategorized
Category B
Category C
Category D
Sunday, August 16, 2009
Home
»
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
» 40 ปีการพัฒนาชาวเขา(4)
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(4)
เขียนโดย
Wrote
ที่
3:07 PM
ก้าวแรกการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เริ่มแรกของการพัฒนาชาวเขาโดยภาครัฐนั้น เป็นการมองเห็นปัญหาโดย หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งออกไปปฏิบัติภารกิจ ในบริเวณที่ใกล้ชายแดนและท้องที่ห่างไกลคมนาคมและพบว่าประชาชนหลายกลุ่มที่อาศัยอ
ยู่ในบริเวณดังกล่าวมีสภาพความเป็นอยู่อย่างยากไร้ สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดการศึกษา พูดภาษาไทยไม่ได้ ปัญหาของพวกเขาช่วงนั้นถูกมองว่าเป็น ปัญหาด้านสวัสดิการ (Welfare Problem) รัฐบาลจึงมีการจัดตั้ง “คณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม” ขึ้น เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม และ ให้ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยหลักในการแก้ไขปัญหาระดับสนาม โดยได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่ในด้านสิ่งบริโภค และอุปโภคที่จำเป็นสำหรับให้ความช่วยเหลือ ชาวเขา จาก กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งอธิบดีกรมฯ มีฐานะเป็นกรรมการ อยู่ในคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม
หลังจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานระดับภาคสนามได้สัมผัสชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งไกลคมนาคมมากยิ่งขึ้น กระทรวงมหาดไทย (กระทรวงต้นสังกัดของกรมประสงเคราะห์ในขณะนั้น) ได้มองเห็นปัญหาชาวเขาอีกหลายประการ ที่เกิดจากวิถีชีวิตในด้านความเป็นอยู่และ การทำกินที่ส่งผลกระทบหรือล่อแหลมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อส่วนรวมได้ จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับปรุงคณะกรรมการสงเคราะห์ประชาชนไกลคมนาคม และเปลี่ยนชื่อเป็น “คณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขา” ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ในสมัยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คณะกรรมการชุดนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกประภาส จารุเสถียร) เป็นประธานกรรมการ มีอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์เป็นกรรมการและผู้อำนวยการกองนิคมสร้างตนเอง เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งถือได้ว่าเป็น องค์กรระดับชาติองค์กรแรก ที่มีหน้าที่วางนโยบายชาวเขา
สำหรับปัญหาที่รัฐบาลมองเห็นว่าจะส่งผลกระทบกระเทือน ต่อส่วนรวมในขณะนั้น ได้แก่ การทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธาร อันเกิดจากการทำไร่แบบโค่นถางป่าและย้ายที่ ซึ่งเรียกว่าการทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขา การปลูกฝิ่นของชาวเขา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตอของปัญหายาเสพติด และ ปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะบริเวณชายแดนซึ่งมีการบ่อนทำลายชักจูงชาวเขาจากฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล อย่างไรก็ดีในขณะนั้นถึงแม้รัฐบาลได้มองเห็นปัญหาของชาวเขาแบบแยกแยะออกเป็นหลายประการ แต่ก็ยังไม่มีสภาพการณ์ที่ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ กรมประชาสงเคราะห์ จึงได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงาน และดำเนินการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชาวเขานับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2502 เป็นต้นมา
Related Posts
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(6)
กำเนิดองค์กร “กองสงเคราะห์ชาวเขา” ปีพ.ศ. 2505 ซึ่งนับยี่สิบสองปีให้หลังที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับการสถาปนา (ปีพ.ศ. 2483) รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง กองสงเคราะห์ชาวเขา ขึ้น ตามนัยพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วน ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(3)
ในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นในประเทศไทย และได้มีการกำหนดว่า ชาวเขา หมายถึง กลุ่มชนเผ่า แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง ละว ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)
40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงชาวเขาว่าชาวเข ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
การตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งแต่เดิมองค์กรภายใต้กรมประชาสงเคราะห์ ที่รับผิดชอบงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา คือ กองนิคมสร้างตนเอง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(2)
การอพยพของชาวเขาเข้ามาสู่ประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าชาวเขาบางเผ่าโดยเฉพาะเผ่าละว้า (ลัวะ) และกะเหรี่ยง ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานมาแล้ว หากพิจา ...
readmore
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.
Newer Post
Older Post
Home
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Search This Blog
Labels
HTWD Song
(1)
memorial of HTWD
(3)
VCD Ecotourism
(2)
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
(6)
บทบันทึกคนเคยเดินดอย
(10)
บทเพลงพัฒนาชาวเขา
(1)
เรื่องเล่าชาวดอย
(5)
แวดวงคนเคยเดินดอย
(2)
Popular Posts
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
การตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งแต่เดิมองค์กรภายใต้กรมประชาสงเคราะห์ ที่รับผิดชอบงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา คือ กองนิคมสร้างตนเอ...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 3
มีหมู่บ้านหนึ่งอยู่บนที่สูง เรียกว่าบ้านป่ายาน ต.กกสะทอน อ.ด้านซ้าย จ.เลย ราษฎรส่วนหนึ่งไม่หนีออกจากหมู่บ้านไปร่วมกับผกค.แต่อยู่...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 1
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี (2534) กับพี่น้องม้ง ผมเข้ามาทำงานสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปลายปี พ.ศ.2509 โดยเข้าทำงานอยูที่...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 2
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี กับพี่น้องม้ง ต่อมาในเดือน มิถุนายน 2511 ผู้ใหญ่บ้านป่าหวาย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งห...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(6)
กำเนิดองค์กร “กองสงเคราะห์ชาวเขา” ปีพ.ศ. 2505 ซึ่งนับยี่สิบสองปีให้หลังที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับการสถาปนา (ปีพ.ศ. 2483) รัฐบาลจึงได้จัด...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ)
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ) ขณะนี้ ผมก็ยังคงอยู่ปฏิบัติงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา บ้านน้ำคับน้ำจวงอยู่โดยทำหน้าที่หัวหน้าหน...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)
40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนไ...
ความทรงจำเมื่อครั้งเดินดอย-ตอน 2
งานชาวเขากับงานต่างประเทศในสมัยนั้นก็ไม่มีอะไรมากมายนัก นอกจากเรื่องของความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่มีอะไรเท่าไหร่ ท่า...
ความทรงจำเมื่อครั้งเดินดอย-ตอน 3
เดินดอยไป ๆ มา ๆ อยู่หลายปี ก็พอดีเวียดนามใต้ถูกเวียดกงตีแตก ชาวเวียดนาม (ใต้) แตกกระสานซ่านเซนไปตามประเทศต่างๆ ซึ่งบางส่วนนับร...
ผิดผี ตอน 1
ชุมชนบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ประกอบไปด้วยชาวเขาเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ตามบริเวณที่เป็นป่าเขาทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของประเทศ...
Donation
website analyzer
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.