skip to main
|
skip to sidebar
Home
Home
About
Uncategorized
Category B
Category C
Category D
Sunday, August 16, 2009
Home
»
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
» 40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
เขียนโดย
Wrote
ที่
3:30 PM
การตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งแต่เดิมองค์กรภายใต้กรมประชาสงเคราะห์ ที่รับผิดชอบงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา คือ กองนิคมสร้างตนเอง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2502 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้ง นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ขึ้น ในแถบพื้นที่ที่มีชาวเขาอยู่อย่างหนาแน่น 4 แห่ง
โดยในปี พ.ศ. 2503 กองนิคมสร้างตนเองได้ดำเนินการทดลองการสงเคราะห์ชาวเขาในรูปนิคมสร้างตนเอง ก่อน 2 แห่ง คือ ที่ ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และที่ดอยมูเซอ จังหวัดตาก และ ปี พ.ศ. 2505 ได้ดำเนินการเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ที่ ดอยภูลมโล เขตติดต่อจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และเลย และที่ ดอยม่อนแสนใจ จังหวัดเชียงราย ซึ่งรวมเนื้อที่ทุกแห่งทั้งสิ้นประมาณ 400,000 ไร่ เพื่อรวบรวมชาวเขาที่อยู่กระจัดกระจาย ซึ่งยากแก่การที่เจ้าหน้าที่จะเดินทางไปพัฒนาและสงเคราะห์ได้โดยทั่วถึงให้เข้ามาตั้งหลักแหล่งและประกอบอาชีพเป็นการถาวรในเขตนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา พร้อมทั้งให้การพัฒนาและสงเคราะห์ ทั้งทางด้านการส่งเสริมอาชีพการเกษตร และอุตสาหกรรมในครัวเรือน แทนการปลูกฝิ่น ด้านการศึกษา การอนามัย และด้านการสังคมสงเคราะห์ โดยให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้า ได้แก่ การแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การครองชีพ เช่น เสื้อผ้า เครื่องกันหนาว และยารักษาโรค นอกจากนั้นยังได้จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ ทำการรังวัดที่ดินสำหรับทำกินให้แก่ครอบครัวชาวเขา แล้วดำเนินการช่วยเหลือให้เข้
าทำกินในที่ที่จัดสรรไว้ ให้ทำการปรับพื้นที่ จัดหาพันธุ์พืชและสัตว์ที่เหมาะสมออกแจกจ่าย และให้กู้ยืมเงินเพื่อการเพาะปลูกในระยะยาวด้วย
ในระหว่างการจัดตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นนั้นกรมประชาสงเคราะห์ตระหนักถึงการวางแผนดำเนินงานในระยะต่อไป จำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชาวเขา จึงได้ร่วมกับกรมตำรวจและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการสำรวจข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวเขาขึ้น ระหว่างปี พ.ศ. 2504-2505 ผลจากการสำรวจพบว่ามีประชากรชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณ 500,000 คน ซึ่งมีชาวเขาอาศัยอยู่นอกพื้นที่นิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา อีกจำนวนมาก และทราบปัญหาชาวเขาต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาได้นำไปปรับใช้ประโยชน์เป็นแนวทางการพัฒนาชาวเขา
Related Posts
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)
40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงชาวเขาว่าชาวเข ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(2)
การอพยพของชาวเขาเข้ามาสู่ประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าชาวเขาบางเผ่าโดยเฉพาะเผ่าละว้า (ลัวะ) และกะเหรี่ยง ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานมาแล้ว หากพิจา ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(6)
กำเนิดองค์กร “กองสงเคราะห์ชาวเขา” ปีพ.ศ. 2505 ซึ่งนับยี่สิบสองปีให้หลังที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับการสถาปนา (ปีพ.ศ. 2483) รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง กองสงเคราะห์ชาวเขา ขึ้น ตามนัยพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วน ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(4)
ก้าวแรกการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา เริ่มแรกของการพัฒนาชาวเขาโดยภาครัฐนั้น เป็นการมองเห็นปัญหาโดย หน่วยตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งออกไปปฏิบัติภารกิจ ในบริเวณที่ใกล้ชายแดนและท้องที่ห่างไกลคมนาคมและพบว่าประ ...
readmore
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(3)
ในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสงเคราะห์ชาวเขาขึ้นในประเทศไทย และได้มีการกำหนดว่า ชาวเขา หมายถึง กลุ่มชนเผ่า แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง ละว ...
readmore
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.
Newer Post
Older Post
Home
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Search This Blog
Labels
HTWD Song
(1)
memorial of HTWD
(3)
VCD Ecotourism
(2)
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
(6)
บทบันทึกคนเคยเดินดอย
(10)
บทเพลงพัฒนาชาวเขา
(1)
เรื่องเล่าชาวดอย
(5)
แวดวงคนเคยเดินดอย
(2)
Popular Posts
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
การตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งแต่เดิมองค์กรภายใต้กรมประชาสงเคราะห์ ที่รับผิดชอบงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา คือ กองนิคมสร้างตนเอ...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 3
มีหมู่บ้านหนึ่งอยู่บนที่สูง เรียกว่าบ้านป่ายาน ต.กกสะทอน อ.ด้านซ้าย จ.เลย ราษฎรส่วนหนึ่งไม่หนีออกจากหมู่บ้านไปร่วมกับผกค.แต่อยู่...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 1
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี (2534) กับพี่น้องม้ง ผมเข้ามาทำงานสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปลายปี พ.ศ.2509 โดยเข้าทำงานอยูที่...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 2
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี กับพี่น้องม้ง ต่อมาในเดือน มิถุนายน 2511 ผู้ใหญ่บ้านป่าหวาย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งห...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(6)
กำเนิดองค์กร “กองสงเคราะห์ชาวเขา” ปีพ.ศ. 2505 ซึ่งนับยี่สิบสองปีให้หลังที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับการสถาปนา (ปีพ.ศ. 2483) รัฐบาลจึงได้จัด...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ)
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ) ขณะนี้ ผมก็ยังคงอยู่ปฏิบัติงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา บ้านน้ำคับน้ำจวงอยู่โดยทำหน้าที่หัวหน้าหน...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)
40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนไ...
ความทรงจำเมื่อครั้งเดินดอย-ตอน 2
งานชาวเขากับงานต่างประเทศในสมัยนั้นก็ไม่มีอะไรมากมายนัก นอกจากเรื่องของความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ซึ่งก็ไม่มีอะไรเท่าไหร่ ท่า...
ความทรงจำเมื่อครั้งเดินดอย-ตอน 3
เดินดอยไป ๆ มา ๆ อยู่หลายปี ก็พอดีเวียดนามใต้ถูกเวียดกงตีแตก ชาวเวียดนาม (ใต้) แตกกระสานซ่านเซนไปตามประเทศต่างๆ ซึ่งบางส่วนนับร...
ผิดผี ตอน 1
ชุมชนบนพื้นที่สูงของประเทศไทย ประกอบไปด้วยชาวเขาเผ่าต่างๆที่อาศัยอยู่ตามบริเวณที่เป็นป่าเขาทางด้านทิศตะวันตกและทิศเหนือของประเทศ...
Donation
website analyzer
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.