skip to main
|
skip to sidebar
Home
Home
About
Uncategorized
Category B
Category C
Category D
Sunday, August 16, 2009
Home
»
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
» 40 ปีการพัฒนาชาวเขา(2)
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(2)
เขียนโดย
Wrote
ที่
2:48 PM
การอพยพของชาวเขาเข้ามาสู่ประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พบว่าชาวเขาบางเผ่าโดยเฉพาะเผ่าละว้า (ลัวะ) และกะเหรี่ยง ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่
ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานมาแล้ว หากพิจารณาระยะเวลาการอพยพเข้ามาและทิศทางที่ใช้ในการอพยพแล้ว อาจแบ่งชาวเขาออกเป็น 2 สาขาใหญ่ ดังนี้
1. ชนชาติที่อพยพจากทิศได้ไปสู่ภูมิภาคทางเหนือเรียกว่า พวกตระกูลออสโตรนีเซียน (Austronesian Stock) ได้แก่ ชนชาติมอญ, เขมร ชนพวกนี้มีเชื้อสายเดียวกับพวก ละว้า, ขมุ, ข่าฮ่อ และข่าถิ่น ที่อาศัยในบริเวณหุบเขาเตี้ย ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย
2. ชนชาติที่อพยพจากทิศเหนือไปสู่ภูมิภาคได้ ได้แก่ชาวจีนธิเบต (Sino-Tibetan) ซึ่งได้อพยพลงใต้ตามเส้นทางลักษณะเดียวกับชนชาติไทย แต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่สูงกว่า โดยเฉลี่ยประมาณ 3,500-5,000 ฟุต พวกจีนธิเบตนี้แยกสาขาออกได้เป็น 2 พวก คือ
ก. พวกธิเบต-พม่า (Tibeto-Burman) ได้แก่ เผ่าอีก้อ ลีซอ มูเซอ และกะเหรี่ยง เผ่ามูเซอได้แก่มูเซอดำ มูเซอแดง มูเซอซี และมูเซอเชเล เผ่ากะเหรี่ยงได้แก่ กะเหรี่ยงสะกอ กะเหรี่ยง บาเว และตองสู ซึ่งได้อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทย
ในบริเวณจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และมีกระจัดกระจายในเขตจังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชรกาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในขณะที่ชาวเขาเผ่าลีซอ มูเซอ และอีก้อ อพยพมาตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และตาก
ข. พวกจีนเดิม (Main-Chinese) ได้แก่ แม้ว เย้า และจีนฮ่อ ซึ่งเมื่ออพยพเข้าสู่ประเทศไทยแล้วได้กระจัดกระจายไปตั้งถิ่นฐานในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันตก เช่น เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน น่าน เชียงราย และตาก จากการค้นคว้าเอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับความเป็นมาของชาวเขาได้กล่าวเกี่ยวกับการอพยพของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เข้าสู่ประเทศไทยว่า ชาวเขาทั้งหกเผ่า คือ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า มูเซอ อีก้อ และลีซอ ได้อพยพมาจากภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่ง ขนบธรรมเนียมบางอย่างในชนพวกนี้ยังแสดงถึงการได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมของจีนอย่างเห็นได้ชั
ด เผ่าลีซอ อีก้อ และมูเซอ ใช้ภาษาที่แตกแขนงมาจากรากเดียวกัน คือ ยิ (Yi, Lolo) ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งในตะกูลภาษาธิเบต-พม่า โดยกล่าวว่า มูเซอ และอีก้อ ได้ทะยอยกันพอยพจากแคว้นยูนนานในจีนลงสู่ทางด้านตะวันออกของพม่า และภาคเหนือของลาว ในราวต้นคริสตศวรรษที่ยี่สิบนี้เอง ที่ทั้งสองเผ่าเริ่มค่อย ๆ เคลื่อนย้ายจากพม่าเข้ามาทางภาคเหนือของไทย มีน้อยมากที่มาจากลาว สำหรับอีก้อนั้น ไม่มีอพยพมาจากลาวเลย ส่วนเผ่าลีซออพยพจากจีนมาอยู่ทางตอนเหนือของพม่า และบางส่วนได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทย สำหรับแม้วและเย้าใช้ภาษาของตระกูลทางจีน-ธิเบต สองเผ่านี้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยผ่านทางประเทศลาว ส่วนกะเหรี่ยงยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ไหน เพราะในดินแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หรือตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต ซึ่งคาดว่าเป็นถิ่นเดิมของกะเหรี่ยงนั้น ในปัจจุบันไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีชนเผ่ากะเหรี่ยงตั้งบ้านเรือนหรือ
อาศัยอยู่เลย ชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงนับเป็นเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย
Related Posts
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.
Newer Post
Older Post
Home
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Search This Blog
Labels
HTWD Song
(1)
memorial of HTWD
(3)
VCD Ecotourism
(2)
การพัฒนาชาวเขาในประเทศไทย
(6)
บทบันทึกคนเคยเดินดอย
(10)
บทเพลงพัฒนาชาวเขา
(1)
เรื่องเล่าชาวดอย
(5)
แวดวงคนเคยเดินดอย
(2)
Popular Posts
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(5)
การตั้งนิคมสร้างตนเองสงเคราะห์ชาวเขา ซึ่งแต่เดิมองค์กรภายใต้กรมประชาสงเคราะห์ ที่รับผิดชอบงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา คือ กองนิคมสร้างตนเอ...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(6)
กำเนิดองค์กร “กองสงเคราะห์ชาวเขา” ปีพ.ศ. 2505 ซึ่งนับยี่สิบสองปีให้หลังที่กรมประชาสงเคราะห์ได้รับการสถาปนา (ปีพ.ศ. 2483) รัฐบาลจึงได้จัด...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ)
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 4 (จบ) ขณะนี้ ผมก็ยังคงอยู่ปฏิบัติงานพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา บ้านน้ำคับน้ำจวงอยู่โดยทำหน้าที่หัวหน้าหน...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 1
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี (2534) กับพี่น้องม้ง ผมเข้ามาทำงานสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ เมื่อปลายปี พ.ศ.2509 โดยเข้าทำงานอยูที่...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 2
ประสบการณ์ชีวิตการทำงาน 35 ปี กับพี่น้องม้ง ต่อมาในเดือน มิถุนายน 2511 ผู้ใหญ่บ้านป่าหวาย อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นที่ตั้งห...
35 ปี กับพี่น้องม้ง-ตอน 3
มีหมู่บ้านหนึ่งอยู่บนที่สูง เรียกว่าบ้านป่ายาน ต.กกสะทอน อ.ด้านซ้าย จ.เลย ราษฎรส่วนหนึ่งไม่หนีออกจากหมู่บ้านไปร่วมกับผกค.แต่อยู่...
40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)
40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนไ...
ความทรงจำเมื่อครั้งเดินดอย-ตอน 3
เดินดอยไป ๆ มา ๆ อยู่หลายปี ก็พอดีเวียดนามใต้ถูกเวียดกงตีแตก ชาวเวียดนาม (ใต้) แตกกระสานซ่านเซนไปตามประเทศต่างๆ ซึ่งบางส่วนนับร...
บทกวี.....คนเคยเดินดอย.
ไม่ใช่ว่าทุกคน จะมีโอกาส เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าทุกคน จะไม่มีโอกาสเลย แต่...ทุกคนจะใช้โอกาสนั้น “ได้อย่างไร” ก่อนที่คนเราจะมีโอกาส “เลือก” เราต...
Memorial of HTWD (4)
Donation
website analyzer
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.