Sunday, August 16, 2009

40 ปีการพัฒนาชาวเขา(1)

        40 ปี (พ.ศ. 2534) กับงานการพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา และสภาพความเป็นมาของชาวเขาในประเทศไทย ความหมายของคำว่า “ชาวเขา” พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงชาวเขาว่าชาวเขาเป็นส่วนหนึ่งของประชากรไทยก็ว่าได้ ในการปกครองนั้น ทางราชการมิได้ถือว่าชาวเขาเป็นคนต่างด้าว แต่นับเป็นชนกลุ่มน้อยของประเทศ 

กองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ได้กำหนดนโยบายว่า ชาวเขา” หมายถึง พวกแม้ว เย้า ลีซอ อีก้อ กะเหรี่ยง ลัวะ ถิ่น ขมุ ชาวไทย และผู้อื่นที่อาศัย และประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งแน่นอนบนภูเขา สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิบัติงานจิตวิทยาแห่งชาติ ได้ให้ความหมายของชาวเขาว่าประกอบด้วย บุคคล 3 จำพวก คือ

1. ชาวเขาชาวดอย (Hill Tribes) ได้แก่ แม้ว เย้า มูเซอ ลีซอ และอีก้อ 2. คนพื้นเมืองที่ขึ้นไปทำกินบนภูเขา (HillTiai) เรียกว่า ชาวไทยภูเขาซึ่งอพยพไปจากภูมิภาคต่างๆของประเทศไทย 3. คนถิ่นเดิม (Origin) ได้แก่ พวกกะเหรี่ยง, ละว้า หรือ ลัวะ ถิ่นและจีนฮ่อ เอกสารบางฉบับเกี่ยวกับชาวเขาได้กล่าวว่า รัฐบาลไทยยอมรับชาวเขาหกเผ่าคือกะเหรี่ยง แม้ว เมี้ยน ล่าหู่ อ่าข่า และลีซู เป็นพลเมืองไทย แต่โดยที่ผู้คนในเผ่าเหล่านี้ในปัจจุบันมีจำนวนไม่น้อย ที่มิได้อาศัยอยู่บนภูเขาอีกต่อไป จึงน่าจะใช้คำว่า “ชาวเผ่า” มากกว่า “ชาวเขา”

จากความหมายต่างๆ อาจสรุปได้ว่า “ชาวเขา” หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกันเป็นเผ่า มีภาษาพูด วัฒนธรรมการแต่งกาย, ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ และวิถีทางในการดำรงชีวิตทั่ว ๆ ไป แตกต่างล้าหลังกว่าชนส่วนใหญ่ของประเทศในสภาพปัจจุบันหลังจากอารยธรรมสมัยใหม่ได้หลั่งไหลเข้าสู่สังคมของชาวเขา เนื่องจากการคมนาคมสะดวกขึ้น วัฒนธรรมและประเพณีบางอย่างก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมเมือง

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.